Jumaat, 7 September 2012

SEJARAH PATANI

Patani adalah sebahagian daripada tanah ‘Tanah Melayu’. Bagaimanapun, pada pertengahan abad ke-19 Patani telah menjadi mangsa dasar imperialistik kerajaan Siam. Dalam tahun 1826, penaklukan Siam ke atas Patani telah diakui oleh British. Dalam usahanya untuk mengukuhkan cengkamannya ke atas Patani, pada tahun 1902 kerajaan Siam melaksanakan dasar Thesaphiban.
Dengan itu, sistem pemerintahan kesultanan Melayu telah dihapuskan. Dengan termeterainya Perjanjian Bangkok pada tahun 1909, Patani telah diakui oleh British sebagai sebahagian daripada jajahan Siam walaupun tanpa kerelaan orang-orang Melayu Patani.
Semenjak penghapusan pemerintahan Kesultanan Melayu Patani, orang-orang Melayu-Patani berada dalam keadaan tertekan dan daif. Seperti yang diungkap oleh W.A.R. Wood, Konsol British di Songkhla, orang-orang Melayu telah menjadi mangsa sebuah pemerintahan yang ‘misgoverned’. Justeru, tidaklah hairan kekacauan seringkali berlaku di Patani. Pada tahun 1923, Tengku Abdul Kadir Kamaruddin, bekas raja Kerajaan Melayu Patani, dengan sokongan pejuang-pejuang Turki, telah mengepalai gerakan pembebasan. Kebangkitan anti-Siam menjadi lebih hebat lagi apabila kerajaan Pibul Songgram (1939-44) cuba mengasimilasikan kaum minoriti Melayu ke dalam masyarakat Siam melalui Dasar Rathaniyom.
Penglibatan Siam dalam Perang Dunia Kedua di pihak Jepun telah memberikan harapan kepada orang-orang Melayu Patani untuk membebaskan tanah air mereka daripada penjajahan Siam. Tengku Mahmood Mahyideen, putera bekas Raja Melayu Patani juga seorang pegawai berpangkat Mejar dalam pasukan Force 136, telah mengemukakan rayuan kepada pihak berkuasa British di India supaya mengambil alih Patani dan wilayah sekitarnya serta digabungkan dengan Tanah Melayu.
Cadangan Tengku Mahmud itu adalah selaras dengan rancangan Pejabat Tanah Jajahan British untuk mengkaji kedudukan Segenting Kra dari sudut kepentingan keselamatan Tanah Melayu selepas perang nanti.
Harapan itu semakin cerah apabila kuasa-kuasa berikat, dalam Perisytiharan San Francisco pada bulan bulan April 1945, menerima prinsip hak menentu nasib sendiri (self-determination) sebagai usaha membebaskan tanah jajahan daripada belenggu penjajahan.
Atas semangat itu, pada 1 November 1945, sekumpulan pemimpin Melayu Patani dipimpin oleh Tengku Abdul Jalal, bekas wakil rakyat wilayah Narathiwat, telah mengemukakan petisyen kepada Kerajaan British merayu supaya empat wilayah di Selatan Siam dibebaskan daripada pemerintahan Siam dan digabungkan dengan Semenanjung Tanah Melayu. Namun begitu, pendirian British terhadap Siam berubah apabila Peperangan Pasifik tamat. Keselamatan tanah jajahan dan kepentingan British di Asia Tenggara menjadi pertimbangan utama kerajaan British dalam penggubalan dasarnya terhadap Siam atau pun Patani.
Kerajaan British memerlukan kerjasama Siam bagi mendapatkan bekalan beras bagi keperluan tanah jajahannya. Tidak kurang pentingnya, kerajaan British terpaksa menyesuaikan dasarnya terhadap Siam dengan tuntutan Amerika Syarikat yang mahu mengekalkan wilayah Siam seperti dalam tahun 1941.
Kebangkitan Komunis di Asia Tenggara, khususnya di Tanah Melayu pada tahun 1948, menjadi faktor pertimbangan British dalam menentukan dasarnya. Kerajaan British menganggap Siam sebagai negara penampan terhadap ancaman Komunis China. Justeru, Kerajaan British mahu memastikan Siam terus stabil dan memihak kepada Barat dalam persaingan dengan Negara-Negara Komunis. Kerajaan British memerlukan kerjasama kerajaan Siam bagi menghapuskan kegiatan penganas-penganas Komunis di perbatasan Tanah Melayu-Siam.
Kebetulan pula kerajaan Siam telah memberi jaminan untuk memperkenalkan reformasi pentadbiran dan sosio-ekonomi di Patani bagi mengatasi masalah yang dihadapi oleh masyarakat Melayu. Oleh kerana itu, isu Patani mula dianggap kurang penting malahan kiranya dibangkitkan akan menjejaskan hubungan dengan Siam.
Selepas Persidangan Songkla pada awal Januari 1949, pihak berkuasa British di Tanah Melayu atas tuntutan pihak Siam mula mengambil tindakan terhadap pemimpin-pemimpin pejuangan Patani. GEMPAR juga telah diharamkan. Tengku Mahmood Mahyideen telah ditekan manakala Haji Sulung dihukum penjara. Pergerakan politik Patani semakin lemah dengan kematian Tengku Mahmood Mahyideen dan Haji Sulung pada tahun 1954.
Sehubungan perjuangan politik kemerdekaan Patani, seorang pegawai Pejabat Tanah Jajahan British pernah mengulas bahawa:
----------------------------------------------------------------------------------------------
If the affairs in this world were settled by common sense and equity, I personally have no doubt what ever that Patani ought to be seperated from Siam dan become part of Malaya. The inhabitants are 90%. Malays and 90% Mohamedans (in a Buddhist country). All their connections are with the south, and particularly with Kelantan, and the Siamese record in Patani is one of dreary mis-rule interspersed with sporadic outbursts of actual tyranny. There is no doubt that where the wishes of the inhabitants lie, and a fair plebscite (if one could be arranged) could only have one result. In the complex affairs of international politics, however, mere practical considerations of this mind do not find much place
------------------------------------------------------------------
จากหลักฐานเอกสารโบราณของจีน อาหรับ ชวา มลายู และจารึกของชาวอินเดีย ที่ปรากฎ นามเมืองของรัฐสำคัญแห่งหนึ่งบนแหลมมลายู ซึ่งออกเสียงตามสำเนียงในแต่ละภาษา เช่น หลังยาซูว หลังยาซีเจีย (ภาษาจีน พุทธศตวรรษที่ 11-12 และ 16-18) ลังคาโศกะ อิลังกาโศกะ (ภาษาสันสกฤต ภาษาทมิฬ พุทธศตวรรษที่ 9 และพุทธศตวรรษที่ 16) เล็งกะสุกะ (ภาษาชวา พุทธศตวรรษที่ 20) ลังคะศุกา (ภาษาอาหรับ พุทธศตวรรษที่ 21) ลังกะสุกะ ลังกาสุกะ (ภาษามลายู พุทธศตวรรษที่ 24) (wheatly 1961 Sklling 1992:131; อมรา ศรีสุชาติ 2540;กรมศิลปากร 2540:10) ชื่อที่ปรากฏนี้ นักวิชาการสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นชื่อเมืองเดียวกัน ที่เคยตั้งอยู่ในรัฐเคดะห์ ประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย และจังหวัดปัตตานีในประเทศไทย แต่ในสมัยหลังศูนย์กลางของเมืองแห่งนี้น่าจะอยู่ในจังหวัดปัตตานี เนื่องจากชาวพื้นเมืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 25 ยังกล่าวว่าเมืองปัตตานี พัฒนาขึ้นมาจากเมืองลังกาสุกะสอดคล้องกับตำนานเมืองไทรบุรีที่กล่าวว่า ราชามะโรงมหาวงค์ทรงสร้างลังกาสุกะบนฝั่งตะวันตกที่เคดะห์และพระราชนัดดาของ พระองค์ได้มาสร้างลังกาสุกะที่ปัตตานี ชาวพื้นเมืองปัตตานีเรียกบริเวณแถบนี้ว่าลังกาสุกะมาจนกระทั่งแม่น้ำปัตตานี เปลี่ยนทางเดิน (หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุ รัชนี,2539:107) ราวพุทธศตวรรษที่ 19 ชุมชนลังกาสุกะเริ่มเสื่อมลงไปเนื่องจากข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์และศาสนาวัฒ ธรรมของชาวเมืองได้เปลี่ยนแปลงไป นักวิชาการทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเชื่อว่า ปัตตานีเป็นที่แวะพักจอดเรือเพื่อแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าระหว่างพ่อค้าชาว อินเดียทางตะวันตกกับพ่อค้าชาวจีนทางตะวันออก และชนพื้นเมืองบนแผ่นดินและตามหมู่เกาะใกล้เคียงต่าง ๆ นอกจากนั้นยังเชื่อมั่นอีกด้วยว่าปัตตานีเดิมเป็นอาณาจักรที่เก่าแก่ตามที่ ปรากฎในเอกสารโบราณที่กล่าวมา (ภัคพดี อยู่คงดี,มปป:2) หลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงร่องรอยของความเจริญร่งเรืองในอดีตของปัตตานีที่ บริเวณอำเภอยะรังเป็นซากร่องรอยของเมืองโบราณขนาดใหญ่ซ้อนทับกันถึง 3 เมือง มีซากเป็นโบราณสถานปรากฏอยู่ไม่น้อยกว่า 40 แห่ง ซากเนินโบราณสถานบางแห่งได้รับการขุดแต่งและอนุรักษ์ไว้ เช่น โบราณสถานบ้านจาเละ 3 แห่ง ซึ่งเป็นซากอาคารศาสนสถานก่ออิฐที่มีการขัดแต่งประดับฐานชั้นล่าง ๆ และยังค้นพบโบราณวัตถุจำนวนมาก เช่น สถูปจำลองดินเผ่า พระพิมพ์ดินดิบ และดินเผาบางชิ้นมีตัวอักษรซึ่งนักภาษาโบราณอ่านและแปลว่าเป็นอักษรปัลลวะ (อินเดียใต้) ภาษาสันสกฤตเขียนเป็นคาถาเนื่องในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน พระโพธิสัตว์สัมฤทธิ์และเศษภาชนะดินเผาประเภทต่าง ๆ โบราณวัตถุเหล่านี้มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 12-13 (กรมศิลปากร, 2535) สอดคล้องกับจดหมายเหตุจีนที่ได้กล่าวถึงไว้ นอกจากนั้นหลักฐานที่ได้ขุดค้นพบยังแสดงให้เห็นด้วยว่าบริเวณที่เป็นที่ตั้ง อำเภอยะรังในปัจจุบัน เป็นชุมชนที่มีความเจริญทางวัฒนธรรมสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนาพุทธที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียไว้อย่างเต็มที่ มีความสัมพันธ์กับดินแดนใกล้เคียง เช่น บริเวณดินแดนภาคกลางของประเทศไทย และบริเวณคาบสมุทรอินโดจีนด้วย และคงจะเป็นชุมชนที่มีกิจกรรมสืบต่อเรื่อยมาจนถึงราวพุทธศตวรรษที่ 15 ก่อนที่อาณาจักรศรีวิชัยจะมีอำนาจรุ่งเรืองครอบคลุมคาบสมุทรมลายูในที่สุด (ภัคพดี อยู่คงดี,มปป.:2) นักภูมิศาสตร์เชื่อว่า เมืองโบราณขนาดใหญ่ที่บริเวณอำเภอยะรังนั้นหมดความสำคัญลงน่าจะมีเหตุผล ประการหนึ่งมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลช่วงระยะเวลา 1,000 ปีที่ผ่านมา โดยลดลงไประดับหนึ่งมีผลทำให้ชายฝั่งทะเลถอยห่างออกไปจากเดิม ดังนั้น ที่ตั้งของชุมชนจึงไม่เหมาะสมที่จะเป็นทำเลของการเป็นเมืองท่าค้าขายอีกต่อ ไป และนำมาซึ่งการย้ายที่ตั้งของเมืองในระยะเวลาต่อมา ซึ่งสัมพันธ์กับตำนานการสร้างเมืองปัตตานีที่กล่าวไว้ในหนังสือหลายเล่ม เช่น Hikayat Patani:Story of Patani ของ A.Teeuw และ D.K.Wyatt:Sajaraj Kerajaan Melaya Patani หรือตำนานเมืองปัตตานีของ lbrahim Syukri เป็นต้น แม้ว่าจะไม่สามารถระบุระยะเวลากำเนิดของเมืองปัตตานีได้อย่างแน่ชัด แต่เมืองปัตตานีก็ได้ปรากฏชื่อและเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาเป็นลำดับ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19 เป็นอย่างน้อย เมืองปัตตานี ได้ชื่อว่าเป็นหัวเมืองฝ่ายใต้ปลายแหลมมาลายู มีฐานะเป็นเมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยามาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระบรม ไตรโลกนาถ (พ.ศ.1991-2031) และอยู่ภายใต้อำนาจของกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาเรื่อยมา ในปี พ.ศ.2054 โปรตุเกสสามารถยึดครองมะละกาได้สำเร็จ และพยายามขยายอิทธิพลทางการค้าขึ้นมาทางตอนเหนือของคาบสมุทรมาลายู ประกอบกับพระราชาธิบดีที่ 2 (พ.ศ.2034-2072) ทรงยินยอมให้โปรตุเกสเข้ามาตั้งสถานีการค้าในเมืองชายฝั่งทะเล เช่น นครศรีธรรมราช มะริด ตะนาวศรี รวมทั้งปัตตานีด้วย ทำให้ปัตตานีกลายเป็นเมืองท่าหลักเมืองหนึ่ง เป็นที่ตั้งของสถานีการค้าของพ่อค้าทั้งชาวตะวันตกและชาวตะวันออก ทั้งชาวอินเดีย จีน และญี่ปุ่น สินค้าที่สำคัญของเมืองปัตตานียุคนั้น ได้แก่ ไม้กฤษณา ไม้ฝาง เครื่องเทศ ของป่า งาช้าง และนอแรด นอกจากนี้ปัตตานียังเป็นจุดรับส่งสินค้าของนานาชาติ เช่น เครื่องถ้วยชาม อาวุธ ดินปืน ดีบุก และผ้าไหม (สถาบันทักษิณคดีศึกษา: 2529)
                แม้ว่าปัตตานีเป็นเมืองประเทศราชของกรุงศรีอยุธยาก็ตาม แต่ด้วยเหตุเมืองที่ปัตตานีมีความเจริญมั่นคงทางเศรษฐกิจเป็นอย่างดี ทำให้เจ้าเมืองปัตตานีต้องการเป็นอิสละหลายครั้ง ดังเช่น ในปี พ.ศ.2092 ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พม่ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา พระยาตานีศรีสุลต่านได้นำกองทัพเรือประกอบด้วยเรือหย่าหยับ 200 ลำ ไปช่วยราชการสงคราม แต่เมื่อเห็นว่ากองทัพกรุงศรีอยุธยาเสียทีพม่า จึงถือโอกาสทำการขบถยกกำลังบุกเข้าไปในพระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระมหาจักรพรรดิหนีข้ามฝากไปประทับบนเกาะมหาพราหมณ์ จนเมื่อกองทัพไทยรวบรวมกำลังได้แล้ว จึงยกกองทัพเข้าโอบล้อมตีกองทหารเมืองตานีจนแตกพ่ายไป ต่อมาในปี พ.ศ.2146 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีรับสั่งให้ออกญาเดโชยกทัพไปตีเมืองปัตตานี เพื่อยึดเข้าไว้ในพระราชอำนาจ แต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากปัตตานีได้รับการช่วยเหลือจากพ่อค้าชาวยุโรป ทั้งอาวุธปืนใหญ่และทรัพย์สินเงินทอง ในสมัยพระเพทราชา (พ.ศ.2231-2245) เมืองปัตตานีไม่พอใจในการสถาปนาขึ้นใหม่ของกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ประกาศไม่ยอมขึ้นกับกรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง ทำให้ปัตตานีเป็นอิสระต่อเนื่องมา จนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าใน พ.ศ.2301 ตลอดมาจนสิ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี เมืองปัตตานีตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามจากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบที่เมืองโบราณ ยะรังแสดงว่าประชาชนโดยทั่วไปก่อนหน้านั้นนับถือศาสนาพุทธและพราหมณ์ และเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม หลังจากที่อาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมอำนาจลง อิทธิพลของศาสนาอิสลามจากราชวงค์มัชปาหิตในชวาได้แผ่อำนาจเข้ามาสู่แหลม มลายูก่อตัวขึ้นเป็นอาณาจักรมะละกา ในราวพุทธศตวรรษที่ 19 แผ่อิทธิพลไปสู่เมืองต่าง ๆ ทำให้เจ้าเมืองเปลี่ยนการนับถือศาสนาเดิมมาเป็นศาสนาอิสลามทั้งหมด ก่อให้เกิดความร่วมมือด้านการเมือง และการเศรษฐกิจการค้าในภูมิภาคนี้อย่างเข้มแข็ง ศาสนาอิสลามได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นควบคู่ไปกับการค้า มีการก่อสร้างมัสยิดขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ประกอบศาสนกิจ มัสยิดที่สำคัญคือ มัสยิดกรือเซะ ซึ่งเป็นมัสยิดใหญ่ประจำเมือง และมัสยิดบ้านดาโต๊ะ บริเวณที่เป็นท่าเรือทางตอนเหนือของอ่าวปัตตานี นอกจากนั้นยังมีมัสยิดและสุเหร่าในเขตชุมชนอิสลามถูกสร้างขึ้นอีกหลายแห่ง
                ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2325-2352) ทรงโปรดฯ ให้สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ยกทัพหลวงลงมาปราบปรามพม่าที่มาตีหัวเมืองทางแหลมมลายูจนเรียบร้อย และในปี พ.ศ.2328 กรมพระราชวังบวรฯ เสด็จลงไปประทับที่เมืองสงขลาให้ข้าหลวงเชิญกระแสรับสั่งออกไปยังหัวเมืองที่เหลือ คือ เมืองปัตตานี เมืองไทรบุรี และเมืองตรังกานู ให้มายอมเป็นเมืองขึ้นเช่นเดิม แต่สุลต่านมูฮัมหมัดพระยาปัตตานีในขณะนั้นขัดขืน กรมพระราชวังบวรฯ จึงมีรับสั่งให้พระยากลาโหมยกกองทัพไทยลงไปตีเมืองปัตตานีได้ในปี พ.ศ.2329 กวาดต้อนครอบครัวและศาสตราวุธมาเป็นอันมาก รวมทั้งปืนใหญ่ 2 กระบอก แต่สามารถนำไปได้เพียงกระบอกเดียว แล้วจึงนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงโปรดฯ ให้จารึกชื่อเป็น ”พญาตานี” ซึ่งนับว่าเป็นปืนใหญ่กระบอกใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ปัจจุบันตั้งอยู่บริเวณหน้ากระทรวงกลาโหม กรุงเทพมหานคร                 ในปี พ.ศ.2332 ตนกูลามิดดินเจ้าเมืองปัตตานีมีหนังสือไปชวนองค์เชียงสือเจ้าอนัมก๊ก ให้ร่วมกันตีหัวเมืองในพระราชอาณาจักร เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงทราบ จึงโปรดฯ ให้ยกทัพไปตีเมืองปัตตานีอีกครั้งหนึ่ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2351 ดาตะปังกาลันได้ก่อความไม่สงบขึ้น รัชกาลที่ 1 โปรดให้เจ้าพระยาพลเทพ (บุนนาค) ยกทัพหลวงออกไปสมทบกับเมืองสงขลา พัทลุง จะนะ ตีเมืองปัตตานีได้สำเร็จ
                ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พ.ศ.2352-2367) เกิดความไม่สงบบ่อยครั้ง ดังนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาอภัยสงครามและพระยาสงขลา (เถี่ยนจ๋อง) ผู้กำกับดูแลหัวเมืองมลายูแบ่งเมืองตานีออกเป็น 7 หัวเมือง และแต่งตั้งให้พระยาเมืองเป็นผู้ปกครอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2359 เป็นต้นมา ได้แก่
                1. เมืองปัตตานี ต่วนสุหลง เป็นเจ้าเมือง
                2. เมืองยะหริ่ง นายพ่าย เป็นเจ้าเมือง
                3. เมืองสาย นิเดะห์ เป็นเจ้าเมือง
                4. เมืองหนองจิก ต่วนนิ เป็นเจ้าเมือง
                5. เมืองระแงะ นิดะห์ เป็นเจ้าเมือง
                6. เมืองรามันห์ ต่วนมันโซร์ เป็นเจ้าเมือง
                7. เมืองยะลา ต่วนยาลอร์ เป็นเจ้าเมือง
(Ibrahim Syukri, 1985 : 61-62 ; ครองชัย หัตถา, 2451 : 140-142)
                ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกวิธีการปกครองบ้านเมืองแบบจตุสดมภ์ (เวียง วัง คลัง นา) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2435 เป็นต้นมา จัดการปกครองเป็นแบบ 12 กระทรวง มีกระทรวงมหาดไทยเป็นกระทรวงการแผ่นดิน โดยให้จัดการปกครองเป็นระบบเทศาภิบาล ทรงใช้นโยบายประนีประนอมและทรงดำเนินการทีละขั้นตอนโดยไม่ก่อ่ให้เกิดการกระทบกระเทือนต่อการปกครองของเจ้าเมือง ทั้ง 7 หัวเมือง ในภาคใต้ทรงโปรดฯ ให้จัดแบ่งเป็น 4 มณฑล ได้แก่
                ๑. มณฑลภูเก็ต จัดตั้งในปี พ.ศ. 2437
                ๒. มณฑลชุมพร จัดตั้งในปี พ.ศ. 2439
                ๓. มณฑลนครศรีธรรมราช จัดตั้งในปี พ.ศ. 2439
                ๔. มณฑลไทรบุรี จัดตั้งในปี พ.ศ. 2440
มณฑลนครศรีธรรมราช ประกอบด้วยเมือง 10 เมือง โดยรวมเอาบริเวณ 7 หัวเมืองเข้าไว้ด้วยคือ เมืองนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ตานี ยะหริ่ง สายบุรี หนองจิก ยะลา ระแงะ และรามันห์ มีผู้ว่าราชการเมืองดูแล อยู่ในการปกครองของข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑล ปี พ.ศ. 2447 ทรงพระกรุณาโปรดให้แยกหัวเมืองทั้ง 7 ออกจากมณฑลนครศรีธรรมราช มาตั้งเป็นมณฑลปัตตานี พร้อมทั้งเปลี่ยนฐานะเมืองเป็นอำเภอ และจังหวัด ได้แก่
                จังหวัดปัตตานี รวมเมืองหนองจิกและเมืองยะหริ่ง
                จังหวัดสายบุรี รวมเมืองระแงะ
                จังหวัดยะลา รวมเมืองรามันห์
นอกจากนี้ยังแยกท้องที่อำเภอหนองจิกยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอเมืองเก่า ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอมะกรูดและอำเภอโคกโพธิ์ตามลำดับ เมืองปัตตานีเดิมเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอปะกาฮะรัง และจัดตั้งอำเภอขึ้นใหม่อีก 2 อำเภอ คือ อำเภอยะรัง และอำเภอปะนาเระขึ้นกับจังหวัดปัตตานี
                ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดภาวะเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำภายหลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 รัฐบาลจึงต้องตัดทอนรายจ่ายให้น้อยลงเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการคลังของประเทศ จึงยุบเลิกมณฑลปัตตานี คงสภาพเป็นจังหวัด ยุบจังหวัดสายบุรีเป็นอำเภอตะลุบัน และแบ่งพื้นที่บางส่วนของสายบุรี คือระแงะ และบาเจาะ ไปขึ้นกับจังหวัดนราธิวาส ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 เป็นต้นมา จังหวัดปัตตานีมีการปกครองโดยผู้ว่าราชการจังหวัด พระยารัตนภัคดี (แจ้ง สุวรรณจินดา) เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีคนแรก ภายใต้การปกครองตามระบอบประชาธิปไตย โดยกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ หลังจากนั้นได้มีการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติดังกล่าวในปี พ.ศ. 2499 และ พ.ศ. 2505 และใช้บริหารราชการแผ่นดินมาจนทุกวันนี้
                เหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดปัตตานีในอดีต ได้แก่ เหตุการณ์ความไม่สงบอันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในแต่ละยุคแต่ละสมัย จนนำไปสู่การต่อต้านรัฐซึ่งมีมาเป็นลำดับ ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 การต่อต้านรัฐทำให้เกิดขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองและการการก่อการร้ายในเวลาต่อมา ตัวอย่างเช่น ระหว่างปี พ.ศ. 2453 – 2465 มีการต่อต้านรัฐบาลอย่างรุนแรงจากมุสลิมปัตตานี เกิดการจลาจลหลายครั้งโดยนำประเด็นทางศาสนาที่แตกต่างไปจากรัฐผู้ปกครอง รวมถึงการที่รัฐบาลไทยเริมใช้กฎหมายและระเบียบที่ขัดกับหลักการของศาสนา หรือขัดต่อประเพณีปฏิบัติของชาวมุสลิม ในปี พ.ศ. 2466 สมัยรัชกาลที่ 6รัฐบาลจึงทบทวนผ่อนปรนระเบียบปฏิบัติที่ขัดต่อศาสนาอิสลาม และให้ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามมีบทบาทในการปกครองดูแลตนเองได้มากขั้น จนกระทั้งปี พ.ศ. 2475 เมื่อประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรขึ้นเป็นครั้งแรก นับเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าได้มีบทบาทและมีส่วนร่วมในการบริหารประเทศ แม้ว่าการเลือกตั้งครั้งแรก พ.ศ. 2476 ที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จะไม่มีผู้ที่เป็นมุสลิมได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพิ่มมากขึ้น และได้ทำหน้าที่ทางนิติบัญญัติและทางการบริหารอย่างต่อเนื่อง ในบางยุคบางสมัย(เช่น ในปี พ.ศ. 2539) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นมุสลิมจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับการเสนอชื่อ และได้รับพระบรมโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งถือว่าเป็นผู้นำสูงสุดฝ่ายนิติบัญญัติของประเทศ
                หากพิจารณาถึงผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2480 และ พ.ศ. 2481 ที่ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นมุสลิมได้รับการเลือกตั้งทั้งหมด อย่างไรก็ตามความขัดแย้งต่างๆ ในบางประเด็นยังคงมีอยู่ เช่น การจัดการศึกษาภาคบังคับการใช้ภาษาและระเบียบปฏิบัติต่างๆ ระหว่างปี พ.ศ. 2482 – 2485 ความไม่เข้าใจของชาวมลายูมุสลิมขยายตัวออกไปมากขึ้น เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีของไทยในขณะนั้นประกาศใช้นโยบาย “รัฐนิยม” รวม 12 ฉบับ ปรากฏว่า นโยบายหลายข้อขัดต่อประเพณีปฏิบัติของชาวมลายูมุสลิม ในปี พ.ศ. 2491 หะยีสุหลงถูกรัฐบาลไทยจับกุม ความตึงเครียดระหว่างชาวมลายูมุสลิมกับรัฐบาลไทยจึงปะทุขึ้น มีการปราบปรามและปะทะกันด้วยอาวุธ มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายคน รัฐบาลไทยเรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า “กบฏดุซงยอ” ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้ชาวมลายูมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้นับพันคนอพยพลี้ภัย บางส่วนไปอาศัยอยู่อย่างถาวรในรัฐต่างๆ ตอนบนของสหพันธรัฐมาเลเซีย นอกจากนั้นผลกระทบที่สืบเนื่องต่อมา คือความรู้สึกต่อต้านและความหวาดระแวงต่อกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับผู้นำชาวมุสลิม บางครั้งก็มีการปฏิบัติการที่รุนแรงจากทั้งสองฝ่าย การต่อต้านรัฐได้ปรากฏเป็นขบวนการเคลื่อนไหวชัดเจนขึ้นทันที เมื่อผู้อพยพจากเกตุการณ์ที่ปัตตานี ระหว่าง พ.ศ. 2490 – 2491 ได้รวบรวมสมาชิกจำนวนหนึ่งจัดตั้ง “ขบวนการประชาชาติมลายูปัตตานี” หรือ GAMPAR (Gabogan Melayu Pattani Raya) มีศูนย์กลางอยู่ที่โกตาบารู และมีเครือข่ายในกลันตัน เคดะห์ สิงคโปร์ และปีนัง ส่วนที่ปัตตานีมีการเคลื่อนไหวของประชาชนชาวปัตตานี หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2502 ได้มีการรวบรวมผู้นำและสมาชิกจากปัตตานีและ GAMPAR จัดตั้งเป็นขบวนการใหม่ คือ “ขบวนการแนวหน้าแห่งชาติเพื่อปลดปล่อยปัตตานี” หรือ BNPP (Barisan National Pembebasan Pattani) ปี พ.ศ. 2503 มีการจัดตั้งขบวนการปฏิบัติแห่งชาติหรือ BRN (Barisan Revolusion Nasional) มีการเคลื่อนไหวมาอย่างต่อเนื่องบริเวณเขตรอยต่อชายแดนไทย – มาเลเซียแถบจังหวัดยะลา และสงขลา ในปี 2511 มีขบวนการปลดแอกสาธารณรัฐปัตตานี หรือ PULO (Pattani United Liberation Organization) เกิดขึ้น องค์กรนี้มีบทบาทสูงและมีการใช้ความรุนแรงในการเคลื่อนไหว มีการโฆษณาผลงานปฏิบัติการอย่างสม่ำเสมอ จนได้รับความเชื่อถือจากองค์กรในต่างประเทศที่สนับสนุนการเคลื่อนไหวดังกล่าว (Mohd. Zamberi A.Malak, 1993 : 318 – 330 ; Ahmad Fathy al – Fatani, 1994 : 127 – 131 ; Pitsuwan, 1989 : 175 - 187) ในระยะที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (PKT : Parti Komunis Thailand) และพรรคคอมมิวนิสต์แห่งมลายา (PKM : Parti Komunis Malaya) เคยมีบทบาทเคลื่อนไหวอยู่ตามแนวชายแดนไทย - มาเลเซีย มีหลักฐานชัดเจนว่าพรรคคอมมิวนิสต์ทั้งสองให้การสนับสนุนขบวนการแบ่งแยกดินแดน และยุยงให้ประชาชนต่อต้านรัฐบาล (Thomas, 1975 : 205) ในช่วงปี พ.ศ. 2516 ขบวน
                 การนักศึกษามีบทบาทโดยตรงต่อกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางการเมืองในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีแนวร่วมสหพันธ์นักศึกษามุสลิมเป็นแกนนำสำคัญ หนังสือพิมพ์เสียงนิสิต (SUARA SISWA) เป็นแหล่งข่าวสารเพื่อการเผยแพร่อุดมการณ์ของแนวร่วมนักศึกษามุลิมในยุคนั้น โดยมีหัวหน้ากองบรรณาธิการในขณะนั้นดำเนินการอยู่ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ส่วนที่โกตาบารู รัฐกลันตันได้มีการร่วมตัวกันจัดตั้งขบวนการ GIP (Garakan Islam Pattani) (Ahmad Fathy al Fatani, 1994 : 131) หรือพรรคอิสลามก้าวหน้าแห่งปัตตานี ขบวนการเคลื่อนไหวมาเลเซียดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองบางพรรคในมาเลเซีย การเคลื่อนไหวก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีมาอย่างต่อเนื่อง มีการผลัดเปลี่ยนผู้นำเป็นระยะๆ ตามสถานการณ์ภายในและภายนอกประเทศ รวมทั้งสถานการณ์ที่มีอยู่ในมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ตลอดจนบทบาทของอุดมการณ์ที่มาจากประเทศในตะวันออกกลางและการฟื้นฟูความสำนึกในอิสลาม (อิมรอน มะลูลีม, 2534 : 164 - 178) รัฐบาลไทยเคยใช้นโยบายปฏิบัติการทางทหารเข้าไปปราบปรามอย่างรุนแรง ต่อมาได้ใช้นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ควบคู่กันไปกับการอุปถัมภ์ศาสนาอิสลาม รวมทั้งการปรับปรุงความสัมพันธ์และทัศนคติระหว่างข้าราชการกับชาวมุสลิมให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น โดยมีศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นศูนย์ประสานงาน และด้ำเนินการตามนโยบายดังกล่าว

Tiada ulasan:

Catat Ulasan